คดีแพ่งทุกประเภท
  1. คดีเกี่ยวกับนิติกรรมสัญญาต่างๆ หนี้ ละเมิด เอกเทศสัญญา คดีครอบครัว มรกด พินัยกรรม
  2. คดีทรัพย์สิน ที่ดิน
  3. รวมถึงคดีตามกฎหมายเฉพาะ เช่น แรงงาน ลิขสิทธิ์
คดีอาญาทุกฐานความผิด
  1. คดียาเสพติด
  2. คดีเกี่ยวกับทรัพย์ ชื่อเสียง ความผิดต่อเสรีภาพ ร่างกาย ทำร้ายร่างกาย ฆ่า
  3. ความผิดเกี่ยวกับเจ้าพนักงานของรัฐ

รับดูแลนิติกรรมสัญญาต่างๆ ที่ปรึกษากฎหมาย ทนายผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อ และเอกสาร โนตารี่พลับลิค ฯลฯ

หนังสือรับรอง
ขึ้นทะเบียนเป็นสำนักงานทนายความ

หนังสือรับรอง ทนายความ
ผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร

การประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยต่อศาล

การขอประกันตัวคืออะไร

การขอประกันตัว คือการขอให้ปล่อยผู้ต้องหา ในระหว่างสอบสวนหรือขอให้ปล่อยจำเลยในระหว่างการพิจารณาของศาล ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน ๓ ลักษณะ คือ

  • การปล่อยตัวชั่วคราว โดยไม่ต้องมีประกัน
  • การปล่อยตัวชั่วคราว โดยมีประกัน
  • การปล่อยตัวชั่วคราว โดยมีประกันและหลักประกัน

ทำได้เมื่อใด ทีไหน

  • เมื่อผู้ต้องหาถูกควบคุมอยู่และยังมิได้อยู่ในอำนาจของศาล ยื่นต่อพนักงานสอบสวน หรือพนักงานอัยการและแต่กรณี
  • เมื่อผู้ต้องหาต้องขับตามหมายศาลและยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล ให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่ออกหมายขังนั้น
  • เมื่อผู้ต้องหาถูกฟ้องเป็นจำเลยต่อศาลแล้ว ให้ยื่นต่อศาลชั้นต้นที่ชำระคดีนี้
  • เมื่อศาลอ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์แล้ว หากมีอุทธรณ์หรือฎีกาแต่สำนวนยังมิได้ส่งไปยังศาลอุทธรณ์หรือฎีกา ให้ยืนต่อศาลชั้นต้นที่ชำระคดีนี้ หากสำนวนส่งไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาแล้วยื่นต่อศาลชั้นต้นที่ชำระคดีนั้นหรือยื่นต่อศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาก็ได้แล้วแต่กรณี
  • กรณีผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นเด็กหรือเยาวชนซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัว (อายุไม่ถึง ๑๘ ปี ) ตำรวจมีอำนาจควบคุมเด็กหรือเยาวชนได้เพียง ๒๔ ชั่วโมง หลังจากนั้นตำรวจต้องส่งตัวเด็กหรือเยาวชนไปให้ผู้อำนวยการสถานพินิจและคุ้มครองเด็ก และเมื่อพนักงานอัยการฟ้องเด็กเยาวชนต่อศาลแล้ว การขอประกันตัวเด็กหรือเยาวชนต้องยื่นต่อศาล

ผู้มีสิทธิยื่นขอประกัน

  • ผู้ต้องหาหรือจำเลยนั้นเอง
  • ผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้อง เช่น ญาติพี่น้อง นายจ้าง ผู้บังคับบัญชาหรือเพื่อนเป็นต้น ซึ่งมักเรียกกันว่า “นายประกัน”

หลักทรัพย์ที่ใช้ประกันได้

  • เงินสด
  • หนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน เช่น โฉนดทีดิน น.ส.3 หรือ น.ส.3
  • พันธบัตรรัฐบาลหรือสลากออมสิน
  • สมุดหรือใบรับฝากประจำของธนาคาร
  • ตั๋วแลกเงินที่ธนาคารเป็นผู้จ่าย และธนาคารผู้จ่ายรับรองตลอดไปแล้ว
  • ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ธนาคารเป็นผู้ออกตั๋ว
  • หนังสือรับรองของธนาคารเพื่อชำระเบี้ยปรับแทนในกรณีผิดสัญญาประกัน
  • บุคคลเป็นประกันหรือหลักประกัน

หมายเหตุ

  • ในกรณีวางสมุดเงินฝากหรือใบรับเงินฝากประจำของธนาคารจะต้องนำหนังือรับรองยอดเงินคงเหลือปัจจุบันดังกล่วของธนาคารมาแสดงด้วย
  • ในกรณีวางโฉนดที่ดิน น.ส.3 หรือ น.ส. 3 ก จะต้องมีหนังสือรับรองราคาประเมินที่ดินของเจ้าพนักงาน ที่ดินหรือนายอำเภอท้องที่มาแสดงด้วย
  • ให้ผู้ขอทำสัญญาประกันด้วยบุคคลเสนอหนังสือรับรองจากต้นสังกัดแสดงสถานะอัตราเงินเดือนและหากมีภาระผูกพันในการทำสัญญาประกัน หรือใช้ตนเองเป็นหลักประกันรายอื่นอยู่ ก็ให้แสดงภาระผูกพันนั้นด้วย

หลักประกันกรณีใช้ตำแหน่งเป็นประกันในการปล่อยชั่วคราวข้าราชการพลเรือน

  • ระดับ๖ถึง๘หรือข้าราชการอื่นที่เทียบเท่า เป็นหลักประกันในวงเงินไม่เกิน๒๐๐,๐๐๐บาท
  • ระดับ๙ถึง๑๐หรือข้าราชการอื่นที่เทียบเท่าเป็นหลักประกันในวงเงินไม่เกิน๕๐๐,๐๐๐บาท
  • ระดับ๑๑หรือข้าราชการอื่นที่เทียบเท่า เป็นหลักประกันในวงเงินไม่เกิน๘๐๐,๐๐๐บาท

ข้าราชการตำรวจและทหาร พนักงานรัฐวิสาหกิจหรือข้าราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น

  • ให้ทำสัญญาประกันตามระดับที่เทียบเท่า๘๐๐,๐๐๐บาท
  • สมาชิกรัฐสภา,ข้าราชการเมือง วงเงินไม่เกิน๘๐๐,๐๐๐บาท

ทนายความ

  • ทำสัญญาประกันหรือใช้ตนเองเป็นหลักประกัน สำหรับตนเองหรือบุพการี ผู้สืบสันดาน คู่สมรส พี่น้องร่วมบิดามารดาหรือร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน ปู่ย่าตายาย ลุงป้าน้าอา
  • เป็นทนายความไม่เกิน๕ปี วงเงินไม่เกิน๖๐,๐๐๐บาท
  • เป็นทนายความตั้งแต่๕ปี ไม่ถึง๑๕ปี วงเงินไม่เกิน๒๐๐,๐๐๐บาท
  • เป็นทนายความตั้งแต่๑๕ปีขึ้นไป วงเงินไม่เกิน๕๐๐,๐๐๐บาท

หลักฐานที่ต้องใช้ในการประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลย

  • บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจพร้อมสำเนา๑ชุด
  • สำเนาทะเบียนบ้านพร้อมสำเนา๑ชุด
  • ผู้ขอประกันที่สมรสแล้วแม้มิได้จดทะเบียนสมรสต้องให้สามีหรือภรรยาให้ความยินยอมพร้อมนำหลักฐานต่อไปนี้มาแสดง

–บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรข้าราชการพนักงานรัฐวิสาหกิจพร้อมสำเนา๑ชุด

–สำเนาทะเบียนบ้านพร้อมสำเนา๑ชุด

–หนังสือยินยอมของคู่สมรส

  • กรณีผู้ขอประกันเป็นหม้าย ต้องนำหลักฐานมาแสดงเช่น

–ใบสำคัญการหย่า หรือ

–ใบมรณะบัตรของคู่สมรสหรือทะเบียนบ้านประทับว่า ตาย หน้าชื่อคู่สมรสพร้อมสำเนา ๑ ชุด

  • กรณีชื่อตัวหรือชื่อสกุลเจ้าของหลักทรัพย์ตามบัตรของทางราชการไม่ตรงกับที่ปรากฎในหลักทรัพย์ต้องมีหนังสือรับรองว่าเป็นบุคคลเดียวกัน ออก ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ที่เจ้าของหลักทรัพย์มีชื่อในทะเบียนบ้านมาแสดง
  • กรณีชื่อตัวหรือชื่อสกุลเจ้าของหลักทรัพย์ตามบัตรของทางราชการไม่ตรงกับที่ปรากฎในหลักทรัพย์เนื่องจากเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล ต้องมีหลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล มาแสดง
  • กรณีชื่อตัวหรือชื่อสกุลเจ้าของหลักทรัพย์ตามบัตรของทางราชการไม่ตรงกับที่ปรากฎในหลักทรัพย์เนื่องจากเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล เพราะทำการสมรสแล้ว ต้องนำใบสำคัญการสมรสมาแสดง
  • กรณีเจ้าของหลักทรัพย์ต้องการมอบอำนาจให้ผู้อื่นทำประกันแทน ต้องนำหลักฐานดังต่อไปนี้มาแสดง

–บัตรประจำตัวประชาชน หรือ บัตรข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือ ใบอนุญาตขับขี่พร้อมสำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของหลักทรัพย์และของผู้รับมอบอำนาจ พร้อมสำเนา ๑ ชุด

–หนังสือมอบอำนาจโดยเจ้าของหลักทรัพย์และผูรับมอบอำนาจไปทำที่อำเภอการมอบอำนาจต้องมีการรับรองการมอบอำนาจ โดยนายอำเภอ หรือผู้ทำการแทน ซึ่งได้ลงลายมือชื่อรับรองและประทับตราประจำตำแหน่งเป็นสำคัญหรือหนังสือมอบอำนาจโดยผู้มอบรับมอบมาทำที่ศาลด้วยตนเอง ลงชื่อต่อหน้าเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์

ขั้นตอนการขอประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลย

  • ขอแบบพิมพ์คำร้องขอประกันตัวได้จากฝ่ายประชาสัมพันธ์
  • เขียนคำร้องขอประกันตัวได้เอง โดยขอคำแนะนำหรือดูตัวอย่างได้จากเจ้าหน้าที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ หากผู้ขอประกันเขียนหนังสือไม่ได้เจ้าหน้าที่ระชาสัมพันธ์จะช่วยเขียนให้โดยไม่ต้องเสียค่าตอบแทนแต่ประการใด
  • ให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยเซ็นชื่อในคำร้องขอประกัน(ด้านหลังของคำร้องแบบ๕๗) หากผู้ต้องหาหรือจำเลยมิได้ถูกขังอยู่ที่ศาลเป็นหน้าที่ของนายประกันที่จะต้องนำคำร้องไปให้ลงชื่อ
  • นายประกันยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวพร้อมหลักฐานต่างๆที่เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์
  • เมื่อเจ้าหน้าที่รับประกันได้ตรวจคำร้องขอปล่อยชั่วคราว และหลักฐานเรียบร้อยแล้วจะส่งบัญชีรับเรื่องไว้เป็นหลักฐาน
  • เจ้าหน้าที่รับประกันจะส่งคำร้องขอปล่อยชั่วคราวไปทำสำนวนคดีของเรื่องนี้ตามแผนกต่าง ๆ เพื่อนำมาประกอบกับคำร้องที่ยื่นไว้แล้วนำมาเสนอ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลทันที
  • พิพากษาหัวหน้าศาลพิจารณาแล้วมีคำสั่งในคำร้องขอปล่อบตัวชั่วคราวว่าอนุญาตหรือไม่อนุญาตประการใดแล้วส่งสำนวนคดีและคำร้องขอปล่อยชั่วคราวกลับคืนไปที่เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ที่รับประกัน
  • เจ้าหน้าที่ที่รับประกันจะแจ้งผลการขอประกันให้นายประกันทราบ
  • เมื่อทราบว่าศาลอนุญาตให้ประกันตัวได้แล้ว นายประกันต้องลงชื่อรับทราบวันนัดที่จะต้องนำผู้ต้องหาหรือจำเลยมาศาลโดยเซ็นชื่อในสมุดนัดประกัน
  • หลังจากลงชื่อทราบวันนัดแล้ว นายประกันจึงยื่นหลักทรัพย์ให้แก่ เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ การรับใบเสร็จรับเงินและใบเสร็จรับหลักทรัพย์ให้นายประกันมารับเอง ถ้าผู้อื่นรับแทนต้องนำบัตรประชาชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้ของนายประกันมาด้วย
  • การปล่อยตัวผู้ต้องหาหรือจำเลย เมื่อนายประกันได้วางหลักประกันเสร็จแล้ว เจ้าหน้าที่จะทำสัญญาประกันเสนอศาลออกหมายปล่อย ถ้าผู้ต้องหาหรือจำเลยถูกควบคุมตัวอยู่ที่ศาลและยังไม่มีการออกหมายขังไว้เลยจะนำหมายปล่อยให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยออกจากห้องควบคุมในศาล ถ้าผู้ต้องหาหรือจำเลยอยู่ระหว่างถูกขังตามหมายศาลไม่ว่าจะถูกขังที่สถานีตำรวจหรือที่เรือนจำ เจ้าหน้าที่จะนำหมายปล่อยไปปล่อยฯที่ถูกคุมขัง
  • การปล่อยผู้ต้องหาหรือจำเลยจะปล่อยในวันที่ศาลสั่งอนุญาตให้ประกันตัวได้ การขอประกันดังกล่าวนี้โดยปกติแล้วเสร็จสิ้นในเวลาไม่เกิน๑ชั่วโมงเท่านั้น
  • หากศาลสั่งไม่อนุญาตให้ประกันผู้ขอประกันจะขอรับหลักทรัพย์อื่นไว้คืนได้จากเจ้าหน้าที่ที่รับประกัน
  • การขอปล่อยชั่วคราวในระหว่างอุทธรณ์ฏีกาใช้หลักเกณฑ์เหมือนกับที่กล่าวมาแล้วรายละเอียดสอบถามได้จากเจ้าหน้าที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์

โปรดอย่าหลงเชื่อคำแอบอ้างของบุคคลอื่นที่อ้างว่าสามารถให้ความช่วยเหลือหรือติดต่อให้ประกันตัวได้เร็วขึ้นหรือช่วยดำเนินการเรื่องต่างๆอันเกี่ยวแก่คดีได้

โดยต้องเสียค่าตอบแทน เพราะท่านจะเสียเงินเปล่าประโยชน์ ขั้นตอนการขอประกันตัวทุกครั้งจะเป็นไปดังกล่าวข้างต้นหากมีข้อสงสัยประการใดเกี่ยวกับเรื่องการขอประกันตัว ผู้ต้องหาหรือจำเลยเกี่ยวกับคดีความสอบถามได้จากเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์

ศาลจะให้ประกันเสมอหรือไม่

  • คดีอาญาซึ่งมีอัตราโทษไม่สูงหรือไม่ร้ายแรง เช่น ลักทรัพย์ ทำร้ายร่างกาย ถ้าศาลเชื่อว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่หลบหนีการปล่อยชั่วคราวจะไม่เกิดความเสียหาย แก่การดำเนินคดีและผู้ประกันมีหลักทรัพย์เชื่อถือได้ศาลจะอนุญาตให้ประกันในวันนั้นโดยตีราคาประกันตามสมควรแก่ข้อหา
  • คดีที่มีอัตราโทษอย่างสูงเกิน๑๐ปีเช่น ปล้นทรัพย์ หรือฆ่าผู้อื่น กฎหมายบัญญัติว่าศาลจะต้องสอบถามพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการหรือโจทก์ก่อน ว่าจะคัดค้านหรือไม่ ถ้าไม่คัดค้าน ศาลอาจถามได้โดยมีเหตุอันสมควรหรือศาลจะงดการถามเสียก็ได้

อย่าหลงเชื่อผู้แอบอ้างว่าจะช่วยเหลือด้วยประการใดๆทั้งสิ้น ศาลจะใช้ดุลยพินิจสั่งโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามที่กฎหมายกำหนดไว้

นายประกันต้องปฏิบัติอย่างไร

  • นายประกันต้องให้ชื่อและที่อยู่ปัจจุบันต่อศาล หากย้ายที่อยู่ต้องแจ้งให้ศาลทราบโดยเร็ว
  • เมื่อศาลอนุญาตให้ประกันตัว นายประกันต้องลงลายมือชื่อทำสัญญาประกันไว้เป็นหลักฐาน และลงลายมือชื่อทราบกำหนดวัน เวลา ส่งตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยต่อศาล
  • นายประกันจะต้องนำผู้ต้องหาหรือจำเลยที่ตนประกันมาส่งตามกำหนดวันเวลาที่ศาลนัดทุกครั้ง หากนายประกันผิดนัดนำตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยมาศาลตามที่กล่าวข้างต้น ศาลอาจถอนประกันและปรับนายประกันตามสัญญาประกันได้
  • กรณีนายประกันไม่สามารถมาศาลได้นายประกันอาจมอบอำนาจให้ผู้อื่นส่งตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยแทนได้

ขอขอบคุณ http://​www​.coj​.go​.th

หมวด: